Sulfuric acid
ฐานข้อมูล OCCTOX โดยมูลนิธิสัมมาอาชีวะ
Sulfuric acid
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
วันที่เผยแพร่ 12 พฤศจิกายน 2560 ||||| ปรับปรุงครั้งล่าสุด 12 พฤศจิกายน 2560
ชื่อ กรดซัลฟูริก (Sulfuric acid) ||||| ชื่ออื่น Hydrogen sulphate, Oil of vitriol, Oleum
สูตรโมเลกุล H2SO4 ||||| น้ำหนักโมเลกุล 98.08 ||||| CAS Number 7664-93-9 ||||| UN Number 1830
ลักษณะทางกายภาพ ของเหลวใส คล้ายน้ำมัน ไม่ติดไฟ ไม่มีกลิ่น ไม่มีสีเมื่อเป็นกรดบริสุทธิ์ หากไม่บริสุทธิ์จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่อทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้และระเบิดได้
คำอธิบาย กรดซัลฟูริก (หรืออาจเรียกว่ากรดกำมะถัน) เป็นกรดที่มีพิษกัดกร่อนรุนแรง ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุ เช่น ดวงตา จมูก ลำคอ กล่องเสียง หลอดลม และทางเดินหายใจของผู้ที่สัมผัสได้
ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน ACGIH TLV (2012): TWA = 0.2 mg/m3 ||||| NIOSH REL: TWA = 1 mg/m3, IDLH = 15 mg/m3 ||||| OSHA PEL: TWA = 1 mg/m3 ||||| ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) พ.ศ. 2520: หรือ ความเข้มข้นในบรรยากาศของการทำงานเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงานปกติไม่เกิน 1 mg/m3
ค่ามาตรฐานในร่างกาย ยังไม่มีองค์กรที่น่าเชื่อถือองค์กรใดกำหนดไว้
ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่องกำหนดค่าเฝ้าระวังสำหรับสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 24 ชั่วโมง พ.ศ. 2551: ไม่เกิน 860 ug/m3
คุณสมบัติก่อมะเร็ง IARC Classification –Mists from strong inorganic acids containing sulfuric acid = Group 1 (ยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็งกล่องเสียงในมนุษย์ และยังพบความสัมพันธ์กับมะเร็งปอดด้วย) ||||| ACGIH Carcinogenicity = A2 (สงสัยจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์)
การเก็บรักษา
· เก็บในภาชนะบรรจุปิดมิดชิด
· เก็บในที่เย็นและแห้ง
· มีการระบายอากาศเพียงพอ
· เก็บห่างจากแสง ไอน้ำ ด่างแก่ และสารประกอบอินทรีย์
· เก็บภาชนะบรรจุสารไว้ในบริเวณเก็บสารเคมีที่เหมาะสม
· หลีกเลี่ยงการสูดหายใจ และการสัมผัสถูกผิวหนังและตา
การนำไปใช้ ใช้ในอุตสาหกรรมสีย้อม กระดาษหนัง ส่วนประกอบอาหาร การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เป็นน้ำกรดในแบตเตอรี่
การเกิดพิษ
· จากการสูดดม การกิน สัมผัสทางผิวหนัง
· หากได้รับ 5 mg/m3 อาจทำให้เกิดอาเจียน ไอ
· ความเข้มข้น 80 mg/m3 ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตอย่างเฉียบพลัน
· Occupational exposure standard: ACGIH TLV (2000) TWA = 0.2 mg/m3, Notation = A2
อาการระยะเฉียบพลัน
ผลจากการสูดดม
· อาการแรกเริ่มคือ คันจมูก จาม เจ็บคอ แสบตา เป็นมากจะ ไอ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ เดินเซ สับสน
· อาจเกิด หายใจลำบาก (dyspnea) หากสูดดมไป 3 – 30 ชั่วโมง
· อาจเกิด ภาวะขาดออกซิเจน (hypoxia) และตัวเขียว (cyanosis) ได้
· หากสูดดมกรดความเข้มข้นต่ำ 0.35 – 5 mg/m3 จะกระตุ้น reflex เกิดหายใจเร็วและตื้นได้
· อาจเกิด pneumonitis, pulmonary and laryngeal edema ได้
· หากกรดความเข้มข้นสูง ทำให้เกิด pulmonary fibrosis, bronchitis และ emphysema
ผลต่อผิวหนัง
· สัมผัสกรดเจือจางทำให้เกิดระคายเคือง ผิวหนังแดง
· สัมผัสกรดเข้มข้น เกิดแผล thermal burn และ deep ulcers ได้
· ทำให้เกิดเนื้อตาย และ แผลเป็น
· หากบริเวณที่ burn บริเวณกว้างอาจทำให้ช็อกได้
ผลต่อตา
· ไอระเหย (vapor) และฟูม (fume) สามารถทำให้เกิดการระคายเคือง เยื่อบุตาอักเสบ มี necrosis ของเยื่อบุตา แม้ว่าความเข้มข้นต่ำ
· หากสัมผัสกรดที่เป็นของเหลวกระเด็นเข้าตา ทำให้เกิดอาการปวดรุนแรง corneal ulcer กระจกตามัว หรือเกิดการ burn ของกระจกตาได้
· หากสัมผัสตาโดยตรงทำให้ลานสายตาลดลง หรือตาบอดได้
· อาจเกิดการทะลุ eye globe มี content ในตาไหลอออกมาได้
· ทำให้เกิด permanent damage การมองเห็นถูกทำลายถาวรได้
ผลจากการกิน
· หากกินปริมาณเล็กน้อยอาจทำให้ระคายเคืองเยื่อบุทางเดินอาหาร ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ คลื่นไส้อาเจียน
· หากกินปริมาณมากทำให้กัดหลอดอาหาร ทางเดินอาหารตีบตัน หรือทะลุ โดยทั่วไปมักมีผลรุนแรงต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กมากกว่าหลอดอาหาร
· เกิด severe metabolic acidosis และ shock ได้
· เกิด pyloric stenosis ตามมา หลังกินไปนานหลายสัปดาห์หรือเป็นปี
อาการระยะยาว
· หากได้รับกรดซัลฟูริกที่มีความเข้มข้นน้อยๆเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ pulmonary function เกิด chronic bronchitis, pulmonary fibrosis, emphysema, pneumonitis
· อาจมีอาการคล้ายติดเชื้อทางเดินหายใจจากไวรัส มีอาการน้ำมูกไหล เยื่อบุตาอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ
· ฟันอาจเปลี่ยนสีไป และเกิดการสึกกร่อน
· มีหลักฐานบางชิ้นบ่งชี้ว่าอาจทำให้เกิดมะเร็งของทางเดินหายใจได้
การรักษา
ทางการสูดดม
· Clear airway, ให้ออกซิเจน
· ประเมินการหายใจ อาจต้องเอ็กซเรย์ปอดเพื่อประเมิน pneumonitis
· On PEEP หรือ CPAP รักษา pulmonary edema
· รักษาตามอาการ
ทางการสัมผัสผิวหนัง
· ถอดเสื้อผ้าเปื้อนกรดซัลฟูริกออก ใส่ถุงทำเครื่องหมายเก็บให้ห่างจากผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ
· ล้างแผลด้วยน้ำปริมาณมาก
· รักษาอาการ burn ตามอาการ
ทางการสัมผัสดวงตา
· Irrigate ด้วย normal saline อย่างน้อย 15 นาที หรือ 3 ลิตร
· ตรวจด้วย fluorescein พิจารณาส่งต่อจักษุแพทย์
ทางการกิน
· ห้ามทำ gastric lavage หรือทำให้อาเจียน
· ให้ดื่มน้ำมากๆ ยกเว้นถ้าสงสัยมีการทะลุของทางเดินอาหาร
· รักษาการช็อก โดยให้น้ำเกลือหรือเลือด และให้ยาแก้ปวด
· พิจารณา steroid เพื่อลดการอักเสบ
· เอ็กซเรย์ abdomen เพื่อประเมิน perforation
· รักษาอาการอื่นๆ ตามอาการ
· พิจารณาทำ gastro-esophagoscope ภายใน 12 ชม เพื่อประเมินความรุนแรง