การตรวจตาบอดสีในงานอาชีวอนามัย
หนังสือเผยแพร่โดยมูลนิธิสัมมาอาชีวะ
ชื่อหนังสือ: การตรวจตาบอดสีในงานอาชีวอนามัย (Color Blind Testing in the Occupational Health Setting)
ชื่อหนังสือ
การตรวจตาบอดสีในงานอาชีวอนามัย (Color Blind Testing in the Occupational Health Setting)
เรียบเรียงโดย
มูลนิธิสัมมาอาชีวะ
วันที่เผยแพร่
7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
จำนวนหน้า
26 หน้า
เกี่ยวกับเนื้อหา
ความสามารถในการมองจำแนกสีของบุคคล เป็นความสามารถหนึ่งที่ในบางสถานการณ์มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการทำงานบางประเภท ซึ่งต้องอาศัยการมองจำแนกสีอย่างถูกต้องแม่นยำ การคัดเลือกคนที่เหมาะสมในการทำงานที่ต้องใช้ความสามารถในการจำแนกสี ต้องใช้การตรวจทางการแพทย์ที่เรียกว่าการตรวจความสามารถในการจำแนกสี หรือเรียกสั้นๆ ว่า “การตรวจตาบอดสี” นั่นเอง
การตรวจความสามารถในการจำแนกสีหรือการตรวจตาบอดสีนั้น เป็นการตรวจที่ถูกนำมาใช้ในงานอาชีวอนามัยและอาชีวเวชศาสตร์จำนวนมาก การตรวจตาบอดสีในคนทำงานเป็นการคัดกรองบุคคลว่ามีปัญหาในการมองจำแนกสีหรือไม่ เนื่องจากในลักษณะงานบางประเภท การมองจำแนกสีที่ผิดปกติไปหรือที่เรียกว่ามีภาวะตาบอดสี อาจทำให้บุคคลผู้นั้นไม่สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้การตรวจตาบอดสีจึงนิยมถูกนำมาใช้ในการตรวจคนทำงาน โดยเฉพาะในการตรวจสุขภาพก่อนจ้างงานหรือก่อนประจำตำแหน่งงานนั่นเอง
เนื่องจากการตรวจตาบอดสีมีความสำคัญต่อการได้ทำงานหรือไม่ได้ทำงานของผู้ประกอบอาชีพบางประเภทเป็นอย่างมาก การตรวจให้ถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าว มูลนิธิสัมมาอาชีวะ จึงได้จัดทำหนังสือ “การตรวจตาบอดสีในงานอาชีวอนามัย” ฉบับนี้ขึ้น เพื่อหวังให้เป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านอาชีวอนามัย ในการใช้เป็นหลักอ้างอิงในการพิจารณาเพื่อการตรวจตาบอดสี รวมถึงการแปลผลตรวจได้อย่างเหมาะสม
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ “การตรวจตาบอดสีในงานอาชีวอนามัย” ฉบับนี้ จะให้ประโยชน์แก่ผู้ทำงานด้านอาชีวอนามัยของประเทศไทยได้บ้างไม่มากก็น้อย